Platform

อคส อนาคตกระท่อม

 “กระท่อม” พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ บทบาทที่ท้าทายของ อคส.

นายไรอัน สตีเฟน และ นายดัลลัส วาสเกซ ผู้ก่อตั้งบริษัท มิตรา-นายน์ จำกัด ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ “กระท่อม” จากประเทศสหรัฐอเมริกา เดินทางเข้าพบ นายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอทราบข้อมูลและทิศทางการพัฒนา “กระท่อม” พืชเศรษฐกิจแห่งโลกอนาคต โดยนายไรอัน ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 4 ด้าน คือการเติบโตของธุรกิจ ประโยชน์ ปัญหาอุปสรรค และโอกาสของตลาด “กระท่อม” พืชเศรษฐกิจเปลี่ยนโลก ในสหรัฐอเมริกา ดังนี้

“ตลาดเครื่องดื่ม “กระท่อม” มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการเติบโตมากกว่า 3 หลักในทุกๆปี ซึ่งทางบริษัทได้เพิ่มจำนวนผู้แทนจำหน่ายและขยายสาขา outlet อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง “กระท่อม” สกัดมีประโยชน์ในการให้ความสดชื่นได้ดีกว่า “ชาและกาแฟ” ไม่มีผลข้างเคียงในการเสพติด นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องสมาธิดีขึ้นและลดน้ำตาลสำหรับผู้ดื่ม จากประโยชน์จากสาร mitragynine ที่มีอยู่ใน “กระท่อม” แต่ต้องชะลอการลงทุนและขยายตลาดเนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบคุณภาพ จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการส่งออกแข่งขันกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกามากกว่า 80,000 ล้านบาทในปีปัจจุบัน”

อย่างไรก็ตาม นายเกรียงศักดิ์ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลจากสถานการณ์การผลิต “กระท่อม” และทิศทางการพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมการแปรรูป “กระท่อม” ดังนี้

“การเพาะปลูกพืชกระท่อม ได้ทราบข้อมูลมาระยะหนึ่งแล้วว่ามีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 5 ล้านต้น หากไม่เตรียมการตลาดรองรับจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกและภาพลักษณ์ของพืช “กระท่อมในวงกว้าง โดยเฉพาะการขายต้นกล้าในราคา 90-100 บาทต่อต้น และทำสัญญาซื้อ 200-300 บาทต่อกิโลกรัมจากเกษตรกร ซึ่งเป็นราคาที่สามารถขายได้ในประเทศ แต่เป็นราคาที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอินโดนีเซียได้ ทั้งนี้ ต้นน้ำทางเกษตรกรมีความพร้อมในการจัดการเพื่อให้ได้ GAP และปลายน้ำก็ได้รับการยืนยันจากตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งได้เดินทางมาวันนี้ ดังนั้น ปัญหาสำคัญคือ “กลางน้ำ” ที่ต้องมีโรงงานสกัดสารที่ได้ GMP มีการตรวจสอบคุณภาพที่ได้มาตรฐาน และมีงานวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจาก “กระท่อม” สามารถสกัดได้ยารักษาเบาหวานและยาลดความดันโลหิต รวมถึงสกัดเป็นมอร์ฟีน ทดแทนการนำเข้า ลดภาระงบประมาณ สร้างศักยภาพการส่งออก และสำคัญที่สุดคือสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ ปัญหาการส่งออกในรูปแบบ “ผงกระท่อม” ไม่เอื้ออำนวย เนื่องจาก “กระท่อม” ของประเทศไทยยังได้ค่าสาร Mitragynine ไม่ถึงร้อยละ 3 ตามความต้องการของตลาดและตรวจสอบรับรองคุณภาพเป็นไปได้ยาก ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การส่งออกจึงควรเป็นในรูปแบบของสารสกัด ซึ่งยังมีปัญหาทางเทคนิคเนื่องจากได้สารสกัดเพียงร้อยละ 4 แต่ทางสหรัฐอเมริกาต้องการถึงร้อยละ 65 และทาง อคส ได้มีการประสานความร่วมมือเบื้องต้นกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และองค์การเภสัชกรรมเพื่อแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม

ดังนั้น จากการหารือจึงได้ข้อสรุปว่า การส่งออก “กระท่อม” ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา จะเป็นในรูปแบบของสารสกัด ซึ่งทางบริษัทฯ ยินดีถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดให้ได้ค่าสารมากกว่าร้อยละ 65 รวมถึงงานวิจัยซึ่งได้รับการยอมรับและยืนยันว่า สารสกัด “กระท่อม” ไม่มีผลอันตรายใดๆกับสุขภาพของผู้ดื่ม และ อคส จะประสานความร่วมมือพัฒนางานวิจัยสกัด “กระท่อม” เพื่อให้ได้ ยาลดเบาหวาน ยาลดความดันรวมถึงมอร์ฟีน ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ สวทช รวมถึงการแก้ปัญหา “กลางน้ำ” ซึ่งเป็นข้อต่อสำคัญร่วมกันอีกด้วย นอกจากนี้ ทาง อคส จะประสานทูตพาณิชย์เพื่อมอบงานวิจัยดังกล่าวของบริษัทฯ เพื่อเปิดตลาดผ่านบัญชีพิธีสารในกลุ่มประเทศยุโรปและเอเชีย โดยความสนับสนุนจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย 


No comments:

Post a Comment